อาชีพและรายได้
ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่การทำนา ทำไร่ อาชีพรับจ้าง และค้าขายตามลำดับ โดยในปี 2555 ประชากรร้อยละ 98.5 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 46,922 บาท/คน/ปี
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ คือข้าวนาปี อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง โดยอ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 483,886 ไร่ และ 447,033 ไร่
ประชากรส่วนใหญ่ของจังหวัดชัยภูมิส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ได้แก่การทำนา ทำไร่ อาชีพรับจ้าง และค้าขายตามลำดับ โดยในปี 2555 ประชากรร้อยละ 98.5 มีรายได้เฉลี่ยมากกว่า 46,922 บาท/คน/ปี
พืชเศรษฐกิจ
พืชเศรษฐกิจที่สำคัญของจังหวัดชัยภูมิ คือข้าวนาปี อ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง โดยอ้อยโรงงาน และมันสำปะหลัง มีพื้นที่ปลูกทั้งสิ้น 483,886 ไร่ และ 447,033 ไร่
การจ้างงานและการว่างงาน
จังหวัดชัยภูมิมีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 702,712 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 ของประชากรรวม มีงานทำ 701,032 คน คิดเป็นร้อยละ 98.78 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีกำลังแรงงานที่ว่างงาน 815 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40 แรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 63.4 และประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 36.6 สถานประกอบการในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กและมีลักษณะเป็นระบบครอบครัวมากกว่า นอกจากนี้ยังมีการจ้างงานอย่างอื่นเช่น ผู้ไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น
การอุตสาหกรรม
จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 653 โรง มีเงินลงทุนรวม 19,281,791,896 บาท จำนวนคนงาน 22,660 คน สำหรับการส่งเสริมการลงทุนจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมจะต้องใช้เงินลงทุนสูงและจะต้องมีประสบการณ์ในการประกอบอุตสาหกรรม การขาดแคลนวัตถุดิบและช่างฝีมือแรงงานเฉพาะด้านเช่นด้านสิ่งทอและด้านการออกแบบ เป็นต้น
การท่องเที่ยว
จังหวัดชัยภูมิมีแหล่งท่องเที่ยวที่มีชื่อเสียงอาทิ มอหินขาว อุทยานแห่งชาติตาดโตน อุทยานแห่งชาติป่าหินงาม(ทุ่งดอกกระเจียวงาม) อุทยานแห่งชาติไทรทอง อุทยานแห่งชาติภูแลนคา เขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าภูเขียว เขื่อนจุฬำภรณ์ ปรางค์กู่ ภูแฝด ภูพระ ฯลฯ มีมูลค่ารายได้จากการท่องเที่ยว ปี 2556 จำนวนประมาณ 676.20 ล้านบาท
จังหวัดชัยภูมิมีประชากรที่อยู่ในกำลังแรงงาน จำนวน 702,712 คน คิดเป็นร้อยละ 57.50 ของประชากรรวม มีงานทำ 701,032 คน คิดเป็นร้อยละ 98.78 ของกำลังแรงงานทั้งหมด มีกำลังแรงงานที่ว่างงาน 815 คน คิดเป็นร้อยละ 0.40 แรงงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพในภาคเกษตรกรรมเป็นหลัก ประมาณร้อยละ 63.4 และประกอบอาชีพนอกภาคเกษตรกรรมร้อยละ 36.6 สถานประกอบการในจังหวัดส่วนใหญ่เป็นสถานประกอบการขนาดเล็กและมีลักษณะเป็นระบบครอบครัวมากกว่า นอกจากนี้ยังมีการจ้างงานอย่างอื่นเช่น ผู้ไปทำงานต่างประเทศ เป็นต้น
การอุตสาหกรรม
จังหวัดชัยภูมิมีจำนวนโรงงานทั้งสิ้น 653 โรง มีเงินลงทุนรวม 19,281,791,896 บาท จำนวนคนงาน 22,660 คน สำหรับการส่งเสริมการลงทุนจังหวัดชัยภูมิเป็นจังหวัดที่ฐานการประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลักการประกอบอาชีพอุตสาหกรรมจะต้องใช้เงินลงทุนสูงและจะต้องมีประสบการณ์ในการประกอบอุตสาหกรรม การขาดแคลนวัตถุดิบและช่างฝีมือแรงงานเฉพาะด้านเช่นด้านสิ่งทอและด้านการออกแบบ เป็นต้น
การท่องเที่ยว
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น